วันพฤหัสบดี, 23 มกราคม 2568
/home2/cp449816/public_html/khaothai.info/wp-content/themes/smartvariety_1.0.7/template-parts/search-form-xs.php on line 7
" placeholder="ค้นหา">

อำเภอชนแดน จัดงาน “ถวายบายศรี ร้อยมาลัย รวมน้ำใจ ถวายหลวงพ่อทบ” ประจำปี 2568

7 มกราคม 2568 เวลา 18.00 น. นายศรัณยู  มีทองคำ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ถวายบายศรี ร้อยมาลัย รวมน้ำใจ ถวายหลวงพ่อทบ” ประจำปี 2568 โดยมีนายนาวิน สังฆมาตร นายอำเภอชนแดน หัวหน้าส่วนราชการ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้บริหารท้องถิ่น และคณะกรรมการวัดพระพุทธบาทชนแดน ร่วมพิธี โดยกำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 มกราคม 2568  ณ.วัดพระพุทธบาทชนแดน ตำบลชนแดน  อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและรักษาประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ศึกษาประวัติและนมัสการหลวงพ่อทบ อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอชนแดน และประชาชนทั่วไป  และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้สักการะบูชาหลวงพ่อทบองค์ใหญ่ เป็นศูนย์รวมและ    ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวอำเภอชนแดนให้ต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป

ประวัติหลวงพ่อทบ

หลวงพ่อทบ  ธัมมปัญโญ (พระครูวิชิตพัชราจารย์)  เทพเจ้าแห่งความเมตตา มีพลังจิตแก่กล้าเหลือธรรมชาติวัดพระพุทธบาทชนแดน อ.ชนแดน  จ.เพชรบูรณ์

หลวงพ่อทบ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2424 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ที่บ้านยางหัวลม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่ออายุได้ 16 ปี ตรงกับปี พ.ศ. 2440 ได้ทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดช้างเผือก บ้านยางหัวลม โดยมีพระอาจารย์สี เป็นพระอุปัชฌาย์ เรียนหนังสือขอมและไสยเวทวิทยาคมกับพระอาจารย์สีจนมีความรู้แตกฉาน พออายุครบ 21 ปี ท่านได้เข้าทำพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดเกาะแก้ว ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีพระครูเมืองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า ธัมมปัญโญ หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดช้างเผือก และศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมจากพระอาจารย์สี พระอาจารย์ปาน และหลวงทศบรรณ ซึ่งเป็นฆราวาสผู้มีอาคมแก่กล้าอยู่ในขณะนั้นและศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากพระครูเมือง จนเป็นที่เลื่องลือว่า ท่านสามารถนั่งวิปัสสนาได้หลายวันโดยไม่ฉันอาหารเลย

หลวงพ่อท่านเป็นพระนักพัฒนา สร้างเสนะโบสถ์วิหารให้แก่วัดต่างๆ มากมายในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับแต่งตั่งให้เป็น เจ้าคณะอำเภอชนแดน ก่อนกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเขาน้อย อำเภอชนแดน ก่อนกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเผือกและมรณภาพที่วัดนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2519 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 9 รวมสิริอายุได้ 95 ปี 74 พรรษา ศิษยานุศิษย์และบรรดาผู้เคารพนับถือท่านได้นำสังขารของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้วเพื่อสักการบูชาตลอดไป

วัดพระพุทธบาทชนแดน (หลวงพ่อทบ) วัดพระพุทธบาทชนแดน ตั้งอยู่เลขที่ 99 บ้านชนแดน เดิมชื่อ บ้านเขาน้อย ต.ชนแดน อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินสร้างวัด 47 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว 4 เส้น ติดต่อกับถนนใหญ่ ชมฐีระเวช ทิศตะวันออกยาว 5 เส้น ติดกับลำคลอง ทิศตะวันออกยาว 5 เส้น ติดกับลำคลอง ทิศตะวันตกยาว 2 เส้น ติดต่อกับถนนสายวังโป่ง ซึ่งที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 1361 เป็นหลักฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัด นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2515 ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดเขาน้อย” เพราะตั้งอยู่ที่เขาน้อย ระยะเริ่มแรกสร้างวัดเรียกว่า ” วัดพระพุทธบาทเขาน้อย” โดยมีนายปั้น ก้อนพล บริจาคที่ดินให้สร้างวัดซึ่งได้มอบถวายแก่หลวงพ่อทบ เกจิอาจารย์ในภูมิภาคนี้ การสร้างวัดได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2590 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเพื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2517