นายศรัณยู มีทองคํา ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า ด้วยปรากฏว่าในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้งของทุกปี มักจะมีการเผาและเกิดไฟป่าไฟไหม้ในที่โล่งขึ้นเป็นประจํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ เอกชน พื้นที่สาธารณะ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วนอุทยาน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทําความเสียหายแก่ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเป็นจํานวนมหาศาล รวมทั้งเกิดฝุ่นละออง หมอกควันทําให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการระดมกําลังเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และยานพาหนะ เข้าระงับดับไฟและยังมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนเป็นจํานวนมาก สาเหตุประการหนึ่ง เกิดจากการเก็บหา ของป่า ล่าสัตว์ เผาไร่ และกําจัดวัชพืช ในที่ดินทํากินของราษฎรที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่า เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก โดยไม่มีการควบคุม ในที่สุดไฟก็ไหม้ลุกลามเข้าไปติดป่ากลายเป็นไฟป่า หรือเกิดความคึกคะนองจุดไฟเผาป่า
ดังนั้น เพื่อระงับป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากไฟป่าดังกล่าว อีกทั้งให้ราษฎรได้มีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า อาศัยอํานาจตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงกําหนดให้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น “เขตควบคุมไฟป่า” และขอความร่วมมือห้ามเผาโดยเด็ดขาด และกําหนดมาตรการในการป้องกันไฟป่า ดังนี้ ภายในพื้นที่เขตควบคุมไฟป่าจังหวัดเพชรบูร
๑) ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนประชาสัมพันธ์สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ ตามความเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นและของภาครัฐ อาทิ ภาครัฐ กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ชิงเก็บชิงเผาเศษวัสดุเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า และจัดทําแนวกันไฟ ภาคเอกชนและภาคประชาชน การไถกลบตอซัง นําเศษวัสดุเหลือใช้ด้านการเกษตร มาทําประโยชน์ในด้านต่างๆ และการจัดทําแนวกันไฟ ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว มิให้ไฟลุกลามเข้าไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพป่าตามธรรมชาติโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติแล้วไฟลุกลามเข้าไปยังพื้นที่ป่าไม้ ได้แก่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และวนอุทยาน มีโทษจําคุกและปรับตามกฎหมาย โดยให้หน่วยงานตามกฎหมายทีาเกี่ยวข้องดำเนินการตามอํานาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติตามกฎหมาย
๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๘ รวม ๖๐ วัน ห้ามมิให้มี การเผาใดๆ ทั้งสิ้นโดยให้จัดเก็บเศษวัสดุและเชื้อเพลิงในพื้นที่นําไปใช้ประโยชน์เพื่อลดการเผา ยกเว้นการจัดทํา แนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟเป่า และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ (ชิงเผา)ของหน่วยงานภาครัฐที่มี อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ปฏิบัติดังนี้
๒.๑) ห้ามเผาในพื้นที่โล่งเด็ดขาด ได้แก่ พื้นที่เอกชน(พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ชุมชน) พื้นที่ สาธารณะ (ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ดินตลิ่ง ที่ดินประเภทต่างๆ ที่ราชพัสดุ หรือที่ดินว่างเปล่าต่างๆ) พื้นที่ ข้างทางหรือถนน สำหรับพื้นที่เกษตรกรรมหากจำเป็นต้องมีการเผา ให้ดำเนินการขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ผ่านทาง ระบบ Burn check ก่อนทุกครั้ง
๒.๒) ห้ามเผาเด็ดขาดในพื้นที่ป่าไม้ การจุดไฟเผาป่า หรือปล่อยให้ลุกลามเข้าไปยังพื้นที่ที่มีสภาพป่าตามธรรมชาติ ได้แก่ พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ของสถานี ควบคุมไฟป่า พื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พื้นที่ของวนอุทยาน และสวนรุกขชาติ
๓) การห้ามเผา หมายถึง การห้ามเผาป่า เผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เผาขยะ เผาวัชพืช ข้างทาง และการเผาในพื้นที่โล่งแจ้ง
การบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทําผิด และแนวทางปฏิบัติ
๑. ความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐ พระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งที่ได้กําหนดไว้ โดยมีบทกําหนดโทษตามกฎหมายดังกล่าวกำหนด
๒.ตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๒ ตรี จําคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในกรณี บุคคลใดเผาป่าเนื้อที่เกิน ๒๕ ไร่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ ๒ ปี ถึง ๑๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาท ถึง๑๐๐,๐๐๐ บาท
๓.ตามความในมาตรา ๑๔. แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๑ จําคุกตั้งแต่ ๑ ปี ถึง ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถีง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในกรณีบุคคลใดเผาป่าเนื้อที่เกิน ๒๕ ไร่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ ๔ ปี ถึง ๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๔.ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๑๙(๑) ต้องระวางโทษตามมาตรา ๔๑ จำคุกตั้งแต่ ๔ ปี ถึง ๒๐ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๔๐๐,๐๐๐ บาท ถึง๒,๐๐๐.๐๐๐ บาท หรือทั้งจ่าทั้งปรับ และกรณีความผิด “ได้กระทำในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ หรือพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๒ ตามที่คณะรัฐมนตรี กําหนด หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพผู้กระทําต้องระวางโทษหนักกว่า โทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนี่ง”
๕. ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๕(๒) ต้องระวางโทษตามมาตราง ๙๙ จําคุกตั้งแต่ ๔ปี ถึง ๒๐ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๔๐๐,๐๐๐ บาท ถึงง ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และกรณีความผิด “ได้กระทําในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ หรือพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๒ ตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้กระทําต้องระวาง โทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง”
๖.ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๗ (๒) ต้องระวางโทษตามมาตรา ๑๐๓ จำคุกไม่เกิน ๗ปี หรือปรับไม่เกิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๗.ให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา หากพบผู้กระทําความผิดให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อดําเนินคดี ในที่โล่งและพื้นที่ป่าไม้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรําคาญ (๔) การกระทําใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิด กลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้ เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อพบว่าบุคคลใดได้ก่อเหตุรําคาญขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถออก คําสั่งให้ปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรําคาญนั้น ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะมีโทษความผิด ตามมาตรา ๗๔. ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
๘. ในที่โล่งและพื้นที่ป่าไม้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๙๙ ผู้ใดกระทําหรือละเว้นการกระทําด้วยประการใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลายหรือทําให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ หรือเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น
๙.ในที่โล่งและพื้นที่ป่าไม้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ ๑๔ มาตรา ๖๐ ประกอบกับมาตรา ๑๖ แห่ง พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ ๗ พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๖๗(๗)และมาตรา ๗๑ ในการนี้จะกําหนดค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บ เละกําหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กําหนดโทษปรับเกิน ๑,๐๐๐ บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัต ไว้เป็นอย่างอื่น
๑๐. ในที่โล่งและพื้นที่ป่าไม้ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๗ ผู้ใดวางเพลิงเผา ทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๗ ปี และปรับตั้งแต่ ๑,๐๐๐ บาท ถึง ๑๔,๐๐๐ บาท และมาตรา ๒๒๐ ผู้ใดกระทําให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้จะเป็นของตนเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๗ ปี และปรับไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ บาท และการกระทำความผิดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๑๘ (๑)- (๖) ผู้กระทําต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง ๒๐ ปี ๑๑. ในเขตควบคุมไฟป่าจังหวัดเพชรบูรณ์ ราษฎรต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการ ดับไฟป่า หากพบเห็นไฟไหม้ป่าบริเวณใด ให้รีบช่วยกันดับไฟเสียแต่ต้นเพื่อไม่ให้ไฟขยายออกเป็นวงกว้าง หากไฟป่ารุนแรงไม่สามารถดับได้ ให้รีบแจ้งหน่วยป้องกันรักษาป่าในพื้นที่ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่ หรือสถานีควบคุมไฟป่าในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุด หรือฝ่ายปกครอง หรือหน่วยงานทหารในพื้นที่ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเจ้าหน้าที่เข้าระงับดับไฟป่าทันที
๑๒. หากพลเมืองดีพบเห็นไฟไหม้ป่า ไฟไหม้พื้นที่โล่งต่าง ๆ พื้นที่ริมทางหลวง หรือพื้นที่ริมทางหลวงท้องถิ่น ขอให้ช่วยดับไฟ และหากไม่สามารถดําเนินการได้ ขอให้แจ้งหน่วยงานควบคุมไฟป่าในพื้นที หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโทรสายด่วนได้ที่ สายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ แจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย ๑๙๑ สายด่วนพิทักษ์ป่า ๑๓๖๒ สายด่วนทางหลวง ๑๕๘๖ และสายด่วนทางหลวงชนบท ๑๑๔๖ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
๑๓. กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกํานัน ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทหาร ตํารวจ ให้ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องสอดส่องดูแลให้ประชาชน ในท้องที่ปฏิบัติตามประกาศอย่างเข้มงวด จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน